ผู้ใหญ่บ้าน Hamburg

someone in Hamburg who try to be expert in something

Archive for the ‘LaTeX’ Category

Booklet print with FinePrint

leave a comment »

 //www.fineprint.com/images/benefits_booklet.gif” cannot be displayed, because it contains errors.

 FinePrint Software

จำได้ว่าใช้โปรแกรมตัวนี้มาเมื่อประมาณห้าปีที่แล้ว โดยสมัยนั้นใช้พรินท์เตอร์แบบกลับหน้าไม่ได้
พอพิมพ์ครบรอบแล้วต้องมากลับกระดาษเอง รอบหลังจะเจอปัญหากระดาษติดประจำ แก้ปัญหา
โดยการพิมพ์ทีละน้อย ๆ

โปรแกรมตัวนี้ผมใช้งานในการพิมพ์ e-books เพราะมันสามารถพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มได้เลย
ที่ภาควิชามีเครื่องเข้าเล่ม ผมก็สบายไป โปรแกรมตัวนี้ไม่ฟรีนะครับ(แต่ก็ไม่แพง) ผมใช้แบบฟรี
ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ตัวโปรแกรมจะเพิ่มคำว่า  Printed with FinePrint – purchase at
www.fineprint.com ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบอะไร ก็ยังคงใช้แบบฟรี ๆ เรื่อยมา

จริง ๆ แล้ว Adobe reader 8.0 (ชื่อเดิม Acrobat reader) และพรินท์เตอร์ที่ภาควิชาใช้อยู่นั้นมีความสามารถในการพิมพ์แบบ booklet อยู่แล้ว แต่ทั้งสองตัวจะมีแค่ฟังก์ชันพิมพ์ ไม่
สามารถปรับแต่งอะไรได้มากนั้น ในขณะที่ FinePrint นั้นผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามสะดวก

อีกข้อหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือ Adobe reader เวลาพิมพ์สีออกเครื่องพิมพ์ขาวดำนั้น บางสีจะไม่
แสดงเช่น สีแดง และเท่าที่ใช้งานพิมพ์กราฟบางรูปซึ่งไม่ซับซ้อนอะไร คำสั่งที่ใช้พิมพ์ออก
เครื่องพิมพ์ดันมีปัญหากับเครื่องพิมพ์ HP LaserJet 4000 PCL 6 ซะ คือพิมพ์ไม่ออก วิธี
แก้ขัดจาก http://www.adobeforums.com/cgi-bin/webx/.3bc38134 เขาก็บอกให้เปลี่ยนไปใช้ driver แบบ postscript ซะ เท่าที่ลองก็สามารถแก้ปัญหาได้ (ใช้ Ghostscript
พิมพ์ก็ไม่มีปัญหา) งานนี้ Adobe คงต้องเร่งแก้ไขหน่อย ไม่งั้นผมเปลี่ยนไปพิมพ์ด้วย GS ด้วย
นะเอ้า

ข่าวแถม GhostScript 8.56 ประกาศออกตัวเป็นทางการไปตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคมโน้นแล้ว
แต่บนเว็บพึ่งขึ้นน่อ การปรับปรุงหลัก ๆ ก็เรื่อง Qualitz Logic PS CET suite (อะไรวะ) เพิ่ม
การสนับสนุน 64 บิท และก็แก้บักหลาย ๆ ตัว

Written by tsvhh

เมษายน 3, 2007 at 12:16 pm

เขียนใน LaTeX

คณิตศาสตร์กับ blog

with one comment

ข้อได้เปรียบอันหนึ่งที่เห็นได้ชัดของ wordpress.com ที่เหนือกว่า blogger.com คือเรื่องการ
ใส่สมการคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้ประโยชน์จาก \LaTeX (หลายที่ก็ใช้วิธีนี้ในเว็บบอร์ดเช่น
ของ vcharkarn.com) ทีนี้สำหรับผู้ต้องการ blog สมการคณิตศาสตร์ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ
แล้ว

latex \min_\gamma \text{s.t.}\ P > 0 \ \begin{bmatrix}-P & A^TP & A^TP & H^T \\ PA & P-I & 0 & 0 \\ PA & 0 & -P & 0 \\ H & 0 & 0 & -\gamma I\end{bmatrix}<0

ใส่ $ ปิดหัวปิดท้าย ก็จะได้สมการคณิตศาสตร์ดังข้างล่าง

\min_\gamma \text{s.t.}\ P > 0 \ \begin{bmatrix}-P & A^TP & A^TP & H^T \\ PA & P-I & 0 & 0 \\ PA & 0 & -P & 0 \\ H & 0 & 0 & -\gamma I\end{bmatrix}<0

ตรงนี้ดีมาก ถ้าเราสามารถเปิด blog ในลักษณะให้เด็ก ๆ มาโพสคำถามวันต่อวันใน blog แล้ว
ตอบในวันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ \LaTeX หรือเรื่องของคณิตศาสตร์ คำถาม
ไหนซ้ำแทนที่จะต้องนั่งตอบซ้ำ ก็ไล่ให้ไปดู blog ภาษาไทยก็ใช้ได้ พึ่งมีความรู้สึกว่าการรู้เรื่อง
\LaTeX นั้นทำให้ได้เปรียบคนอื่นแม้กระทั้งในโลกของ blog

Written by tsvhh

มีนาคม 13, 2007 at 10:31 am

เขียนใน blog, LaTeX

winedt

leave a comment »

 

 

  สองคู่หูผู้สร้าง winEDT

 

 

 

ไม่น่าเชื่อ ก็ต้องเชื่อว่า text editor ที่ออกแบบมาให้ใช้กับ LaTeX ตัวนี้มีอิทธิพลมาก
กับสังคมของ LaTeX จริง ๆ โดยความจริงแล้วมีบรรณาธิกรณ์หลายตัวที่สามารถใช้งาน
ร่วมกัน LaTeX ได้ดีและดีกว่า แต่ต้องยอมรับว่าส่วนติดต่อกับผู้ใช้ของ WinEdt นั้นออก
แบบมาเพื่อใช้งานกับ LaTeX จริง ที่สำคัญมันโปรแกรมได้ คุณสามารถปรับแต่ง WinEdt
ได้ตามชอบใจ

เมื่อวันก่อน MiKTeX ได้ประกาศออกเวอร์ชันใหม่คือ 2.5 ซึ่งมีการออกแบบใหม่หลาย
เรื่องทั้งดีและไม่คุ้นเคย (มันอาจจะดีแต่เรายังไม่คุ้นเคย) แต่ที่แน่ ๆ คือต่างระบบปฏิบัติการ
ย่อมมีแนววิธีปฏิบัติเกี่ยวกับแฟ้มเก็บข้อมูล เพื่อให้ MiKTeX สามารถทำงานร่วมกับ
Windows ได้ดีขึ้น (ระบบที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่เราคุ้นเคยกว่า) การเปลี่ยนแปลงนี้สร้าง
ปัญหาให้กับผู้ใช้ WinEdt อย่างมากมาย ซึ่งจริง ๆ แล้วอ่านคู่มือเล็กน้อยก็จะแก้ปัญหา
ได้ (ทัศนคติเกี่ยวกับการอ่านคู่มือเปลี่ยนไปอีกแล้ว เพราะคนที่ประสบปัญหาเหล่านี้ล้วน
เป็นศาสตาจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์ที่มีความรู้เรื่องการโปรแกรมเป็นอย่างดี) จริง ๆ คน
เขียนโปรแกรมที่ดีราคาถูกตัวนี้ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่เผอิญคอมพิวเตอร์ของเขามีปัญหาทำ
ให้เวอร์ชันใหม่ออกไม่ทันตามกำหนด

ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับคู่มือต่าง ๆ แล้ว
กำลังใช้ MiKTeX 2.4 อยู่ ก็ไม่แนะนำให้เปลี่ยนไปเป็น 2.5 นะครับ รอให้อะไรมันเข้าที่
กว่านี้ก่อน

Blogged with Flock

Written by tsvhh

สิงหาคม 9, 2006 at 10:12 am

เขียนใน LaTeX

เริ่มด้วยความแตกต่าง ลงท้ายให้เหมือนกัน

leave a comment »

วันนี้เป็นหนึ่งวันที่น่าเบื่อ 9.15 น. ต้องมาอ่านหนังสือด้วยกัน กับเพื่อนร่วมภาค
คนนำอ่านคือไอ้ เซาลัด (มันชื่อนี้จริง ๆ) มันไปเร็วมาก กะว่าจะได้อะไรก็เลย
ไม่ได้อะไร อากาศก็ร้อน เนื้อหาสมาธิก็แตกไปแล้ว เดินออกมานอกห้องหัน
ไปถามเพื่อนคนอิรัก กับอียิปต์ พวกนี้ก็ได้แต่ส่ายหัวแล้วบอกว่ามันไปเร็วโคตร
สังสัยปวดอึแหง

11.00 น. ได้เวลาจำอวดของน้อง ป็อบปอบ (ชื่อดันไปเหมือนนักคณิตศาสตร์
ชื่อดังเจ้าของ Popov criterion) การนำเสนอมีอะไรให้ถกเถียงกันบ้างเล็ก
น้อย แต่ไร้สาระ เช่น

“เราจะเอา link ของ commercial product ใส่ไว้ด้วยเหรอ มันไม่เป็น
การโฆษณาให้พวกเขาเหรอ”–โอ้แม่เจ้า

และก็จบลงด้วยการนำเสนอ LaTeX-editor brand new ที่มันพยายามให้
ผมนำเสนอ แต่ผมบอกว่ามันดีแต่ตูไม่ใช้ ก็ตูยังชอบ WinEdt อยู่ เคยลองใช้
แต่่ไม่ชอบ แต่การนำเสนอนั้นทำให้ทุกคนตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ และคล้อยตามว่า
ควรจะเปลี่ยนมาใช้ แต่แล้วอาจารย์มาดเท่ดูดีของผม ก็ยิงหมัดเด็ดตามน้ำ
มาติน เก๋าผู้ดีอังกฤษ ว่ามันทำโน่นทำนี้ได้เหรือเปล่า แล้วก็หัวเราะทำนองว่า
ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าใช้มันเลย แต่ดูเหมือนท่านอาจารย์จะเกรงใจไอ้ ป็อบปอบ
หนุ่มร่างโย่งของเราหน่อยหนึ่ง เลยพูดปลอบใจว่า

“แต่จริง ๆ แล้วฉันไม่สนใจหรอกนะ ว่ายูจะสร้างเอกสารด้วยอะไร แต่แน่นอน
ต้องในรูปแบบของ LaTeX เท่านั้น แต่จะใช้ editor อะไรก็เรื่องของความ
ชอบ (มึง)”

ผมหันไปมองหน้าอาจารย์แล้วก็ยิ้ม ๆ แล้วคิดในใจว่า

“ถ้าจารย์คิดอย่างนี้ตั้งแต่ต้น ผมก็ไม่ต้องมานั่งร้อนฟังอะไรไร้สาระ กันอยู่นี่
หรอก”

สรุปได้ว่าการถกเถียงกันในวันนี้ ไอ้ ป็อบปอบมันเสียหน้า น่าสงสารเพราะ
ว่าอุตส่าห์เตรียมตัวนะ

technorati tags:

Blogged with Flock

Written by tsvhh

กรกฎาคม 6, 2006 at 11:12 am

เขียนใน ส่วนตัว, blog, LaTeX

สร้าง eps

leave a comment »

การต่อสู้อันยาวนานของวัน สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของผม ผมได้ทน
พยายามเพียรสร้างโปรแกรม batch ด้วยโครงสร้างอันสุดกระจอก
ของ DOS แต่ใช้งานได้ระดับหนึ่ง มันก็สำเร็จจนได้

ผมถูกบังคับ จากเดิมที่มีความสุขดีกับ mps จริง ๆ ไม่สุขเท่าไหร่
เพราะว่าไม่มีโปรแกรมง่าย ๆ ที่จะใช้ดูมัน นอกจากคุณจะสร้างมัน
ให้เป็นเอกสารก่อน การเดินทางของผมเริ่มต้นจากแนวคิดง่าย ๆ
ว่า มันต้องมีใครซักคนหนึ่งในโลกมีปัญหาเหมือนผม และหนึ่งในนั้น
ต้องเป็นยอดฝีมือเยี่ยมยุทธ์ ปรากฎว่าไม่มีใครเลยที่สร้างแก้ปัญหา
ง่าย ๆ ด้วยวิธีง่าย ๆ

ผมเริ่มจากหาโปรแกรมที่สามารถแปลงไฟล์ mps ของผมไปเป็น
eps แต่ไม่มีโปรแกรมใดจะให้ความสมบูรณ์ดังใจหวังได้เลย ผม
เสียเวลาไปครึ่งวัน จากนั้นผมก็กลับไปหาเพื่อนเก่า ผู้มีพระคุณที่ได้
เสียเวลาสร้างสิ่งดี ๆ เช่น m4_circuitmacro ที่ไม่แน่ใจว่าใน
โลกนี้จะมีคนใช้เกินสิบหรือไม่

คนแก่ท่าทางใจดีท่านนี้แหละ ได้เจียดเวลามาสร้างอุปกรณ์ให้ผมใช้
อยู่เนือง ๆ

เมื่ออาวุธอยู่ในมือ การใช้ออกย่อมต้องมีการพลิกแพลงกันบ้าง ผมเริ่ม
ต้นหาวิธีดัดแปลงอาวุธให้ใช้ออกได้ดังใจต้องการ แหะ ๆ จริง ๆ วิธี
นี้มันก็เขียนอยู่ในคู่มือแหละน้า อย่างไรก็ตามผมก็ได้ดัดแปลงหลาย
อย่าง เพื่อให้ใช้ออกได้ด้วย 1 กด

เป็นอีกหนึ่งวันที่ค่อนข้างจะสูญเปล่ากับการทำวิจัยที่เร่งรีบ อีกแล้ว
แต่สิ่งที่ได้มาก็ไม่ได้ว่างเปล่า อย่างน้อยวันนี้ผมก็ได้ pgp key
สำหรับเข้ารหัสข้อมูลให้ส่งกันในภาค แทนการเซฟใส่แผ่นแล้วเดินไป
เจอหน้ากัน เราก็ส่งอีเมลแทน (จะบ้าตาย-วัน ๆ ก็จะไม่ได้เห็นหน้ากัน
อยู่แล้ว)  และผมยังได้โปรแกรมสร้างรูป  eps  นอกจากนั้นปริศนาเกี่ยว
กับ winedt ก็ถูกเฉลยแล้ว กล่าวคือ utility จะไม่ทำงานถ้าไม่เราไม่
restart โปรแกรมหล่ะนะ

Blogged with Flock

Written by tsvhh

กรกฎาคม 4, 2006 at 4:54 pm

เขียนใน LaTeX

หนี้บุญคุณ (การนำเสนอผลงานด้วย PDF+LaTeX)

leave a comment »

มีคนเคยพูดว่า "อย่าพูดว่าจะทำ powerpoint บน LaTeX ยังไง เพราะ powerpoint ไม่ใช่
มาตรฐาน" ผมเห็นด้วยอย่างแรง เพราะการที่เราไปจำกัดจินตนาการเราไว้ว่า การนำเสนอผลงาน
ต้อง powerpoint เท่านั้น ทั้ง ๆ ที่มันมีอีกหลายวิธีการและมีเครื่อง มืออีกหลายตัวมากนักที่ทำงาน
เดียวกันได้ ถ้ายังไม่รู้ ว่าจริง ๆ แล้วการนำเสนอผลงานบนฉาก (screen presentation) นั้น นอก
เหนือจากโปรแกรมแนว powerpoint แล้ว ยังมีอีกหลายรูปแบบ อยากรู้ว่ามีอะไรบ้างก็ลองไปดูที่นี่

Screen Presentation Tools

ที่ควรจะรู้ อันหนึ่งก็คือการใช้ pdf ไฟล์ในการนำเสนอ ซึ่ง ทุกวันนี้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
คงเป็นเพราะความ portable และเล็กของมันนั่นเอง

ตัวที่ผมใ้ช้อยู่ปัจจุบันมีอยู่สองตัวด้วยกันคือ seminar.sty powerdot.cls และที่กำลังจะหัดใช้คือ
beamer.cls

น้อง ๆ หลายคนในที่นี้คงไม่เข้าใจว่า คนรุ่นผมเค้านำเสนอผลงานกันอย่างไร แน่นอนครับใช้แผ่นใส
เมื่อก่อนแผ่นใสที่ใช้กันก็เป็นแบบเขียน ซึ่งราคาก็ไม่ใช่น้อยแถมปากกาเขียนแผ่นใสก็ราคาแพง ต่อ
มาเริ่มมีการใช้แผ่นใสชนิดถ่าย สมัยนั้นแผ่นละ 7 บาท เวลาจะเอาไปถ่ายก็ต้องพิสูจน์ด้วยการสั่นแผ่น
ใสว่าเสียงเป็นแบบ แกร็บ ๆ หรือไม่ ถ้าไ่ม่ใช่ขืนเอาไปถ่ายก็จะทำให้เครื่องถ่ายเอกสารพังไปเท่านั้น


รูปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Overhead_projector

ยุคนี้เองครับที่เรามักจะเห็นภาพบนจอข้ามศรีษะที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือ สมัยก่อนเวลาอาจารย์มา
เข้าสอนก็จะหิ้วปึกแผ่นใสเข้ามาด้วย นักศึกษาก็จะชอบล้ออาจารย์มามาปิ้งแผ่นใสให้นักเรียนดู
ก็น่าเห็นใจนะครับ เวลาเตรียมแผ่นใสก็ต้องนั่งหลังขดหลังแข็งเตรียม ง่ายซะเมื่อไหร่ พอสอนใน
นาน ๆ เข้าการใช้ แผ่นใสแบบถ่ายก็ดูเข้าท่าขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของรูปภาพ หรือความง่ายคือเรา
สามารถสร้างเอกสารจาก คอมพิวเตอร์แล้วพิมพ์ลงบนกระดาษแล้วค่อยเอาไปถ่ายเอกสารอีกที
ก่อนที่จะมาเยอรมันก็ยังใช้วิธีนี้ อยู่เลยครับ ปัญหามันอยู่ที่เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ที่คน
เยอรมันเรียกว่า Beamer นั้นเมื่อก่อนราคาแพงมาก ไม่รวยจริงซื้อมาใช้ไม่ได้หรอกครับ ไม่เหมือน
สมัยนี้ที่ราคาสองสามหมื่นก็หามาซื้อใช้ ดูหนังบนผนังบ้านได้แล้ว

สมัยผมเรียนที่อังกฤษเมื่อปี y2k นั้น ผมเลือกที่จะยังคงใช้แผ่นใส ด้วยเหตุผลโง่ ๆ อย่างไม่น่าเชื่อ
ก็คือผมใช้ powerpoint ไม่เป็นนะสิ ไม่เป็นจริง ๆ เคยหัดใช้อยู่พักใหญ่ก็ต้องกลับไปใช้แผ่นใส
แล้วยิ่ง ต้องนำเสนอ Matrix 5×5 ด้วยแล้ว ความพยายามที่มีอยู่บ้างก็หมดลงไป สุดท้ายก็ไปลง
ที่ LaTeX ที่ มี class seminar มาให้ ซึ่งมันเป็นเครื่องคือสำหรับสร้างแผ่นใสสำหรับเครื่องฉาย
ภาพข้ามศรีษะ ไม่ใช่สำหรับ beamer

ก็ใช้แก้ขัดไปได้ ในห้องที่แสดงผลงานด้วยกัน ก็มีผมกับเพื่อนชาวสวีเดนอีกคนที่ใช้แผ่นใส
แต่มีผมคนเดียว เท่านั้นที่ใช้ LaTeX สร้าง เค้าให้เวลา 15 นาที ผมใช้ไป 8 นาทีรวมตอบ
คำถาม ก็เนื้อหามันน้อยนะครับ

หลังจากเรียนจนจบได้ดีกรี MSc กลับบ้าน แต่ยังไม่ได้กระดาษใบนั้นนะ ต้องรออีกเดือนหนึ่ง
ถึงจะได้กลับมาแล้วก็ต้องสอนหนังสือ ก็ใช้แผ่นใสเหมือนเดิมนี่หล่ะ ที่ต้องทำเพิ่มขึ้นก็คือการ
ทำ Presentation ด้วย LaTeX ทั้งนี้ด้วยความหวังว่าจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไว้คราวหน้าจะมา
เล่าให้ฟังครับว่าผมเริ่ม จากอะไร

Written by tsvhh

มิถุนายน 7, 2006 at 2:26 pm

เขียนใน LaTeX

หนี้บุญคุณ (LaTeX กับบุคคลที่คุณควรรู้จัก)

leave a comment »

เมื่อก่อนสมัยเป็นอาจารย์ใหม่ ๆ มีความภูมิใจอย่างมากกับการแสกนรูปภาพ หรือไม่ก็ใช้
โปรแกรม pspice (ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของ Orcad) เพื่อสร้างรูปภาพบรรจุลงใน
ข้อสอบหรือใบงานการทดลองต่าง ๆ นอกจากรูปแล้วก็มีสมการคณิตศาสตร์ที่เริ่มใส่ลง
ในเอกสารได้จริง ๆ จัง ๆ ตอนที่เริ่มมี Word 6.0 (ทำให้เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก CW อย่าง
ช่วยไม่ได้) ซึ่งงานเหล่านี้ล้วนต้องใช้ความพยายามและเสียเวลาอย่างมาก ที่พอจะ
คุ้มกับการลงทุนหน่อยก็เห็นจะเป็นการรับงานแปลเอกสารวิชาการหน้าละ 150 บาท
พร้อมจัดหน้าด้วย ซึ่งตอนนั้นโดนด่ายับเพราะส่งงานให้ผู้จ้างงานช้าไปหนึ่งวัน แต่ก็ได้
รับเงินมาห้าหมื่นกว่าบาทแลกกับเวลาประมาณสองอาทิตย์ ตอนนั้นก็คิดว่าคุ้ม

เมื่องานต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากขึ้น การทำงานกับ Word เริ่มไม่สนุก ได้พบเห็น
กากบาทสีแดงบ่อยขึ้น ใหญ่เล็กขึ้นกับขนาดของรูปหรือสมการ ที่เซ็งที่สุดเห็นจะเป็นการ
เอาการบ้านมาพิมพ์ที่ทำงานแล้วได้แต่กากบาท แทนที่จะเป็นสมการคณิตศาสตร์ (สมัย
ก่อน pdf ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก) ดีที่บ้านใกล้กลับไปเอาใหม่ได้ ผมตัดสินใจวันนั้นที่จะ
เปลี่ยนไปใช้ LaTeX ด้วยความประทับใจในความสวยงามของเอกสาร เรียกว่าหลงรูปนั่น
แหละ ทั้งนี้เพื่อนเคยแนะนำมาแล้ว และก็เคยอ่านในวารสารคอมพิวเตอร์ฉบับหนึ่งแนะนำ
ไว้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ใช้จริงจังซะที

ผมใช้เวลาฝึกหัดใช้ LaTeX เบื้องต้นประมาณสองอาทิตย์ ผมก็สามารถเขียนการบ้านที่มี
เฉพาะตัวหนังสือเปล่า ๆ และสมการคณิตศาสตร์ได้ จนปัจจุบันก็ได้ใช้ LaTeX ทำแทบ
ทุกอย่างและก็อีกหลายอย่างที่ไม่ได้ใช้มันทำ สำหรับในวงการ LaTeX แล้วคนที่คุณจะต้อง
นึก ถึงก็คงหนีไม่พ้นคน ๆ นี้ Professor Don Knuth ที่ Standford โน่น จะเห็นได้ว่าท่าน


รูปจาก Don Knuth's Home Page

หน้าตาดุประมาณว่าจ้องจะกินตับเด็กทุกคนที่แอบหลับในห้องเรียนไงอย่างนั้นเลย คน ๆ นี้
เองครับที่ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้จัดเรียงพิมพ์หนังสือที่เรียกว่า TeX ขึ้นเป็นคน
แรกของจักรวาล (มีคนกล่าวว่า TeX เป็นภาษาที่ห่วยมาก ๆ ภาษาหนึ่งในแง่ของการเรียนรู้)
แต่ด้วยความยากเย็นในการเรียนรู้เช่น ต้องจำคำสงวนมากกว่าภาษาซี และมีรูปแบบการใช้ที่
ให้ผลลัพท์แบบเดียวกันเต็มไปหมด ประหนึ่งว่าวรยุทธ์เดียวกันทรงพลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับ
คนใช้ แม้ขบวนท่าพื้นฐานแต่ถ้าใช้ออกโดยเซียวฟงหัวหน้าพรรคกระยาจกแล้วหล่ะก็… ทำ
ให้ TeX ไม่ได้แพร่หลายนัก (เอหรือว่าใช้อยู่คนเดียวหว่า)

จริง ๆ แล้วมีผู้คนมากมายรวมทั้งคนคิดด้วยที่เห็นประโยชน์ของ TeX คนคิดก็ยังใช้ TeX
ล้วน ๆ ในการสร้างเอกสารอยู่ (นัยว่าก็กูสร้างแล้วกูไม่ใช้แล้วจะเหนื่อยสร้างขึ้นมาทำไม)
แต่ด้วยความคิดที่ว่ากูใช้คนอื่นก็ต้องใช้ด้วยนั้นมีอยู่ในตัวบุคคลถ้วนทั่วทุกตัวคน จึงได้มี
ผู้ที่เห็นดีเห็นงามลงมือทำให้สิ่งที่ยากขึ้นกลายเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น หนึ่งในนั้นได้ทำให้ LaTeX
ปรากฎชื่อเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาในโลกสีฟ้าใส เขาคนนั้นคือ Leslie Lamport
ถ้านับกันที่หน้าตาหล่ะก็ Lamport กินขาด Knuth อยู่หลายขุมเหมือนกัน (ไม่รู้ด้านไหน)


รูปจาก Leslie Lamport's Home Page

การเกิดมาของ LaTeX นี่เองทำให้เราได้รู้จัก TeX โดยทางอ้อม และมักมีผู้ที่เข้าใจผิดเสมอ
ว่ามันเป็นอันเดียวกัน ทั้งที่มันไม่ใ่ช่ (รู้แล้วอย่าไปปล่อยไก่หล่ะว่ากำลังใช้ TeX เขียนเอกสาร
อยู่)

ผลลัพท์ของ LaTeX นี้เองทำให้เส้นโค้งของการเรียนรู้ลดลงมาอย่างมาก แค่ไม่กี่ชั่วโมง
คุณก็สามารถสร้างเอกสารด้วย LaTeX ได้แล้ว หนังสือ It not so short Introduction to
LaTeX 2e
เวอร์ชัน 4.20 (ภาษาอังกฤษ) ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 (อ้าววันนี้นี่หว่า ทัน
สมัยสุด ๆ)(เวลาสร้างเอกสารด้วย LaTeX จะมีการใช้คำสั่งเพื่อลงเวลาด้วย ดังนั้นทุกครั้ง
ที่แปลคำสั่งไปเป็นเอกสารมันก็จะบันทึกเวลาล่าสุดไว้ให้ด้วย ถ้าไม่อยากใช้การเขียนเวลา
แบบตรง ๆ ไป) อ้างว่าใช้เวลาแค่ 139 นาที โดยประมาณ ผมนั่งยันได้เลยครับว่าถ้าคุณได้
อ่านคู่มือนี้แล้วคุณจะเป็นภายในเวลาไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ และเป็นในระดับที่ใช้งานได้ด้วย

มีคำถามอยู่ว่าแล้ว LaTeX เนี่ยใช้กับภาษาไทยได้เปล่า ก็ต้องบอกว่าได้ครับ ถ้าถามว่าง่าย
เปล่าก็ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลย ไว้วันหลังจะแนะนำบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ LaTeX กันต่อไปครับ
วันนี้ขี้เกียจแล้ว

Written by tsvhh

พฤษภาคม 31, 2006 at 4:33 pm

เขียนใน LaTeX

TpX กับการแก้ไขภาพ eps

leave a comment »

วันนี้นั่งแก้ไขรูปภาพนานหลายชั่วโมง เล่นเอาเหนื่อยเลย สาเหตุหลัก ๆ ของการที่ต้องแก้ไขรูปภาพก็คือ ภาพที่เราเตรียมไปนั้นเป็น ภาพสำหรับไฟล์ pdf แต่เพื่อน ๆ นั้นใช้ ps ความยุ่งยากก็คือเจ้าโปรแกรม TpX ที่ผมใช้นั้นมัน ยังเป็น beta อยู่แล้วก็มีบักในกรณีที่เก็บไฟล์เป็น eps สร้างความปวดหัวให้ ผมเป็นอย่างมาก

บักตัวที่ว่าคือ เมื่อเราเอารูปมาแก้ไข โดยมีการเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ เข้าไปเช่น วาดเส้นเพิ่ม เสร็จแล้วเราเก็บรูปภาพนั้นเป็น eps ผลที่ได้คือรูปภาพเดิมกับรูป ภาพที่เพิ่มเข้าไปทีหลังจะไปอยู่คนละส่วนกัน ซึ่งปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อเราเอารูปภาพนั้นไปรวมกับ LaTeX เท่านั้น เมื่อดูจากโปรแกรม ghostview จะไม่มีสิ่งผิดปกติใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นบักที่ graphicx.sty ก็ได้

วิธีแก้ไข หรือจะเรียกว่าแก้ขัดซะมากกว่านั้น ก็ทำได้ง่าย ๆ ครับ คือให้ตัว โปรแกรมแสดงผลเป็น ps ก่อนจะด้วยวิธีใดก็ได้ จากนั้นใช้ ghostview แปลง ไฟล์จาก postscript ไปเป็น eps โดยเลือกให้มันสร้างกรอบให้อัตโนมัติหรือ เราจะกำหนดเองก็แล้วแต่สะดวกครับ วิธีการนี้จะไม่มีบักดังกล่าวข้างต้น

Written by tsvhh

มีนาคม 1, 2006 at 5:00 pm

เขียนใน LaTeX

xfig ที่โคตรเกลียด

leave a comment »

จดเอาไว้ก่อนวิธีทำให้ใช้คำสั่ง LaTeX ได้

  1. package ที่จำเป็น epsfig, graphicx, xcolor
  2. เวลาจะเขียนคำสั่ง Math mode ของ LaTeX มีขั้นตอนยุ่งยากตาม LaTeX Tips
  3. ข้อสองคือต้องทำให้ตัวอักษรเป็น spacial ก่อน โดยการเขียนตัวอักษรแล้วก็ edit แล้วไปแก้ flag spacial
  4. begin{figure}[h]
    centerline{
    scalebox{0.8}{
    input{foo.pstex_t}
    }
    }
    caption{This is an example}
    label{fig-eg}
    end{figure}
  5. เพื่ออะไรเนี่ย

Written by tsvhh

กุมภาพันธ์ 13, 2006 at 6:20 pm

เขียนใน LaTeX

ผมเกลียด Xfig

with 2 comments

ว่ากันตามตรงแล้ว ผมเคยหัด Xfig ตั้งแต่สมัยเรียนที่อังกฤษ 6 ปีที่แล้ว
Xfig นั้นดีครับ เป็นโปรแกรมที่เริ่มเขียนโดยคนไทย (ปัจจุบันเป็นอาจารย์
ที่นิด้า) แต่การเชื่อมระหว่าง LaTeX กับ Xfig ในตอนที่เป็นมือใหม่หัดเล่น
LaTeX นั้นไม่ได้เรื่องเอาซะเลย

ในสมัยนั้นผมใช้วิธีที่ง่ายกว่า(ดีกว่า?) คือใช้ Mayura Draw แล้วแทรก
คำสั่ง LaTeX ด้วย psfrag ซึ่งใช้งานได้ดีแต่ค่อนข้างจะจำกัดในเรื่อง
ของอุปกรณ์เสริม การจะวาดตัวต้านทานซักตัวนั้นยาก ปัจจุบันใช้
circuit_macro ที่สร้าง output ออกมาในรูป Metapost ปัญหาที่มัก
เจอก็คือ file format ที่ไม่ค่อยจะตรงกัน กล่าวคือทุกวันนี้ใช้ Pdflatex
ในการสร้างเอกสาร แต่ในการทำ Presentation จะใช้ Powerdot ซึ่ง
ต้องการให้สร้างเอกสารโดยบังคับใช้ขั้นตอน latex->dvips->pstopdf
ซึ่งยุ่งยากพอสมควร จริง ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร ปัญหาก็แค่รูปแบบไฟล์ที่
ต้องการใน Powerdot นั้น เป็น eps, mps แต่ไม่รองรับ pdf ในขณะที่
Pdflatex นั้นรองรับ pdf, mps นี่คือความยุ่งยาก เพราะเราต้องมานั่ง
เปลี่ยนไฟล์จาก eps ให้เป็น pdf โดยใช้โปรแกรม eps2pdf อีกที แต่ยัง
ยืนยันที่จะใช้ Powerdot ไม่เปลี่ยนไปใช้ Beamer

ในกรณีของ MATLAB นั้น เดี๋ยวนี้ save เป็นไฟล์รูปแบบต่าง ๆ ได้โดย
ตรงไม่ต้อง export ให้ยุ่งยาก แต่ pdf จาก MATLAB นั้นจะมีปัญหา
เรื่องขอบเขตของรูปภาพ พูดง่าย ๆ คือไม่ดี วิธีที่ดีก็เก็บเป็น eps ก่อน
แล้วค่อยไปแปลงเป็น pdf

การแก้ไขรูปภาพ eps เมื่อก่อนก็ทำด้วยมือ ถ้าจำเป็น หรือไม่ก็ทนใช้
แบบไม่แก้ไขไป แต่ปัจจุบันก็ใช้ TpX ในการแก้ไขซึ่งใช้ pstoedit ใน
การ Import ไฟล์มาอีกที ซึ่งจะเห็นข้อดีต่าง ๆ มากมาย ของ TpX ดัง
นี้

  1. แก้ไขไฟล์ eps, pdf, ps โดยผ่าน pstoedit ได้
  2. เก็บไฟล์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เกือบทั้งหมด
  3. แทรกคำสั่ง LaTeX ได้โดยตรง โดยจะแสดง Mathmode ได้เมื่อเก็บเป็น MetaPost
  4. ใช้วาดรูปพื้นฐานสำหรับงานวิทยาศาสตร์ได้ เข้าใจง่าย
  5. มีอนาคต

แต่ในการวาดรูปต่าง ๆ ผมก็ยังยืนยันจะใช้ circuit_macro อยู่ดี
เพราะมีของให้นำมาต่อกันใช้เยอะไม่ต้องสร้างเอง

แต่อาจารย์จะบังคับให้ใช้ Xfig ด้วยเหตุผลว่า Popov มันเป็นมดงาน
ให้ภาคฯ อยู่แล้ว เราไม่ต้องมานั่งวาดเอง เอาของมันมาใช้ได้
เลย แล้วถ้า Popov มันหายไปแล้วเราจะทำไงหล่ะ เฮ้อ

Written by tsvhh

กุมภาพันธ์ 3, 2006 at 2:10 pm

เขียนใน LaTeX